เบอร์สวยเปลี่ยนเครือข่าย แต่ใช้เบอร์เดิมได้แล้ว
เฮ! กทช.มีมติคงสิทธิ์ ผู้ใช้เปลี่ยนค่ายโทรศัพท์แต่ใช้เบอร์เดิมได้ เริ่ม31ส.ค.นี้
หลังจากที่มีการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ หรือ กทช. มีมติให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถใช้บริการคงสิทธิ์หมายเลขโทรศัพท์เดิมไว้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครือข่าย ผู้ให้บริการ โดยให้คิดค่าธรรมเนียม 99 บาท เและกำหนดให้เครือข่ายย้ายระบบให้แล้วเสร็จได้ภายใน 3 วัน เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป
แนวคิดการเปลี่ยนเครือข่ายไม่เปลี่ยนหมายเลขนี้ ก่อนหน้านี้ยังไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง เนื่องจากค่ายโทรศัพท์มือถือต่างๆขอขยายเวลาออกไป จนกระทั่งเวลาใกล้ครบกำหนด จึงประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค.โดยจะให้บริการได้อย่างเต็มที่ในเดือน ก.ย.แน่นอน ซึ่งในช่วงแรกคาดว่าจะมีผู้ขอใช้บริการเป็นจำนวนมาก จึงเร่งให้ทุกบริษัทผู้ให้บริการเครือข่าย ทดสอบระบบโครงข่าย ระบบบิลลิ่ง ระบบลูกค้าสัมพันธ์ รวมทั้งระบบเชื่อมต่อระหว่างค่ายมือถือด้วยกัน โดยจะต้องทำให้ระบบทำงานให้เสถียรที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในอนาคต เชื่อว่าบริการเปลี่ยนเครือข่ายไม่เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถใช้บริการฟรีไม่ต้องเสียค่าบริการ ซึ่งเป็นไปตามกลไกการแข่งขันของผู้ให้บริการอยู่แล้ว
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้ออกประกาศเมื่อวัน ที่ 3 สิงหาคม 2552 ให้บรรดาผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถเปลี่ยนเครือข่าย โดยสามารถใช้เลขหมายโทรศัพท์เดิมต่อไปได้ นับเป็นการปลดแอกประชาชนจากการเอาเปรียบของผู้ประกอบการครั้งสำคัญของประเทศ ไทย
ในอดีตประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์ถูกบริษัทผู้ประกอบการเอา เปรียบโดยถือว่าหมายเลขโทรศัพท์นั้นเป็นของผู้ให้ประกอบการ หากผู้ใช้โทรศัพท์จะเปลี่ยนเครื่องที่ใช้ระบบอื่น ก็ไม่สามารถใช้เลขหมายโทรศัพท์เดิมได้ ทำให้เกิดความลำบากและความเดือดร้อนในการแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทราบถึงการ เปลี่ยนหมายเลขใหม่ ทั้ง ๆ ที่ระบบในสากลนั้นถือว่าหมายเลขโทรศัพท์เป็นของรัฐ เมื่อประชาชนผู้ใช้บริการคนใดได้รับจัดสรรหมายเลขโทรศัทท์ใดแล้วก็เป็นเจ้า ของหมายเลขนั้น และสามารถเปลี่ยนใช้กับระบบอื่นได้ทุกระบบ ซึ่งมีการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหานี้มาเป็นเวลานานแล้ว
ครั้นวันที่ 3 สิงหาคม 2552 กทช. ก็ได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการ ให้ประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถเครือข่ายได้โดยสามารถใช้เลขหมาย โทรศัพท์เดิม ซึ่งถือว่าเป็นการยอมรับสิทธิของประชาชนผู้ใช้บริการและปลดแอกไม่ให้บริษัท ผู้ให้ประกอบการเอาเปรียบผูกมัดผู้ใช้บริการต่อไป นายสุรนันท์ วิทยกำจร สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยว่า หลังจากการเปิดประชาพิจารณ์ร่างหลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ท) ที่กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้คณะทำงานจะต้องสรุปข้อคิดเห็นจากการเปิดประชาพิจารณ์ทั่ว ประเทศภายใน 15 วัน เพื่อเสนอให้กับคณะกรรมการ กทช.พิจารณาแก้ไขและเห็นชอบต่อไป ก่อนจะดำเนินการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ กทช. เพื่อให้ประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็น แล้วนำข้อสรุปทั้งหมดมาจัดทำร่างประกาศฯ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับผลการจัดทำประชาพิจารณ์เบื้องต้น พบว่าผู้บริโภคยังไม่เห็นด้วยในหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการโอนย้ายระบบโทรศัพท์ มือถือที่ต้องใช้ระยะเวลา 3-5 วัน ซึ่งเป็นเวลาที่นานเกินไป รวมถึงอัตราค่าธรรมเนียมการโอนย้ายระบบโทรศัพท์มือถือ จากเดิมที่ กทช.ได้นำผลการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมากำหนดเป็นค่าบริการเบื้องต้น ไม่เกินครั้งละ 300 บาท ซึ่งผู้บริโภคมองว่ามีราคาแพงเกินไป โดยเห็นว่าราคาที่เหมาะสมควรสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง หรือไม่ควรคิดค่าธรรมเนียมเลยจะส่งผลดีต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ การทำนัมเบอร์พอร์ทจะเริ่มให้บริการบนโทรศัพท์มือถือก่อน แล้วจึงนำไปให้บริการบนโทรศัพท์พื้นฐาน เนื่องจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือมีจำนวนมากกว่า และทำได้ง่ายกว่า ซึ่งคาดว่าการออกร่างประกาศนัมเบอร์พอร์ทในไทยก็น่าจะไล่เลี่ยกับการออกร่าง ประกาศ 3 จี ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้สำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ จำนวน 4,000 ราย พบว่า ผู้ใช้บริการ 98% เห็นด้วยกับการทำนัมเบอร์พอร์ท ผู้ใช้บริการจำนวน 65.2% มีความเห็นว่าค่าใช้จ่ายในการทำนัมเบอร์พอร์ทต่อครั้ง จะต้องไม่เกิน 200-300 บาท ซึ่งยังมีอีกจำนวน 72% ต้องการให้มีการโอนย้ายระบบ ใช้เวลาไม่เกิน 1 วัน
หลังจากที่รอกันมานานแสนนาน ทาง กทช.? ได้ออกมาบอกว่าภายในสามเดือนหลังจากนี้ ผู้ใช้สามารถที่จะเปลี่ยนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยเก็บหมายเลขเดิมที่ใช้ อยู่ได้แล้ว แต่ AIS ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดของประเทศกลับบอกว่าระยะเวลาสาม เดือนนั้นเป็นไปไม่ได้ทางปฏิบัติ เพราะว่าผู้ให้บริการยังจำเป็นที่จะต้องทำความรู้จักกับระบบการโอนเลขหมาย รวมไปถึงการติดตั้งและทดสอบซอฟต์แวร์ต่าง ๆ และปรับปรุงแก้ไขข้อตกลงการให้บริการลูกค้าอีกด้วย ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ทาง กทช.?เองก็ได้บอกว่าหลังจากเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป หากผู้ให้บริการไม่ยอมโอนเลขหมายให้ตามที่ผู้บริโภคต้องการอาจจะต้องได้รับ โทษ สำหรับปัญหาอื่น ๆ ก็จะเป็นการที่ลูกค้า Prepaid เมื่อทำการเปลี่ยนโอนหมายเลข จะทำการย้ายยอดเงินคงเหลือในระบบจากค่ายหนึ่งไปยังอีกค่ายหนึ่งอย่างไร แต่ กทช.? กลับบอกว่าพวกเขาไม่สนว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไร แต่ทั้งหมดจะต้องพร้อมภายในสามเดือน! สำหรับค่าการโอนหมายเลขไปยังผู้ให้บริการอื่น ๆ นั้นจะเป็นที่ราคาที่ไม่แพงกว่าราคาซิมการ์ดใหม่ ซึ่งก็คือ 50 บาทเท่านั้น
ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่
ดาวน์โหลดประกาศ
|